ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้ มา 1 วิชาในสาขาสังคมศึกษา 1 ระบบ ตามหลัก IPO .ในแต่ละองค์ประกอบให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบนั้นๆมาด้วย
สงครามอาร์มาดา
กองเรืออาร์มาดา
เกิดขึ้นในยุคสมัยของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน
โดยเป็นกองเรือที่ถูกเรียกว่าแข็งแกร่งที่สุดเก่งที่สุด
ถูกสร้างขึ้นเพื่อเตรียมบุกชิงราชบัลลังก์อังกฤษเนื่องจากพระเจ้าฟิลิปเปที่ 2
ผู้เป็นคริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิก ทรงเห็นว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1
ผู้ปกครองอังกฤษในขณะนั้น ซึ่งพระนางทรงเป็นคริสเตียนนิกายโปรเตสแตนต์
ไม่คู่ควรกับราชบัลลังก์อังกฤษที่สมควรจะมีไว้สำหรับเชื้อพระวงศ์ที่เป็นโรมันคาทอลิกเท่านั้น
แต่เหตุผลที่พระเจ้าฟิลิปเปนำมาอ้างก็คือโจรสลัดอังกฤษปล้นเรือสินค้าของสเปนหลายครั้ง
ทำใหสเปนต้องทำการตอบโค้อังกฤษ
ในการนี้กองเรืออาร์มาดาได้ยกพลไปบุกอังกฤษถึงสองครังแต่ก็พ่ายแพ่ทั้งสองครั้ง
ลำดับเหตุการณ์
เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่
1 แห่งอังกฤษ ผู้ซึ่งได้ทำการฟื้นฟูอิทธิพลของนิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษและนอกจากนี้พระนางยังเป็นพระมเหสีในพระเจ้าเฟลิเปที่
2 แห่งสเปน ทำให้พระนางเอลิซาเบทได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระนางแมรี
แต่พระนางเอลิซาเบททรงเป็นโปรเตสแตนต์ ด้วยเหตุผลนี้ทำให้พระเจ้าฟิลิปเปที่ 2
ทรงไม่พอพระทัยที่อังกฤษจะกลายไปเป็นพวกโปรเตสแตนต์ พระเจ้าฟิลิปเปที่ 2
จึงทรงตัดสินพระทัยให้สร้างกองเรืออาร์มาดาขึ้นเพื่อทำการบุกอังกฤษ
ในปี ค.ศ. 1587 สเปนได้ยกทัพยกกองเรื
มาอยู่รวมกันที่กรุงลิสบอน
โดยมีแผนจะลองเรือผ่านช่องแคบขึ้นไปสมทบกับทหารสเปนที่ประจำอยู่ในเนเธอร์แลนด์แล้วจึงบุกขึ้นฝั่งอังกฤษ
ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16
นั้นทหารบกสเปนเป็นที่เกรงขามของนานาประเทศในยุโรปทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2
ทรงคาดคะเนว่าจะชนะได้ไม่ยาก
การโต้กลับของอังกฤษในปีเดียวกันภายใต้การนำของ
ฟรานซิส เดรก (Francis Drake) โดยการชิงบุกก่อนที่ทัพเรืออาร์มาดาจะเคลื่อนขบวน
ซึ่งทัพเรือของอังกฤษยกกองทัพไปทำลายเสบียงและสัมภาระของทัพเรืออาร์มาดาเสียหายหลายพันตันและยึดแหลมวินเซนต์กับอ่าวลิสบอนไว้ชั่วคราว
ก่อนกลับอังกฤษยังยึดเรือสเปนลำหนึ่งพร้อมด้วยทรัพย์สิน 114,000 ปอนด์ไปด้วย
ในปี ค.ศ. 1588
สเปนจัดทัพเรืออาร์มาดาขึ้นมาใหม่ได้สำเร็จ ประกอบด้วยเรือ 350 ลำจากสเปน 80
ลำจากเวนิสและเจนัวอิตาลี ทหาร 12,000 คน จากการสนับสนุนของอิตาลี
และสมเด็จพระสันตะปาปาในฐานะที่รบเพื่อโรมันคาทอลิก (สำนักวาติกัน) เพิ่มเติมอีก
6,000 คน จากการสนับสนุนของพ่อค้าสเปนอีก 12,000 คน และที่ขุนนางสเปนช่วยกันสมทบ
รวมแล้วมีเรือรวมเรือรบและเรือเสบียง 450 ลำ กับทหารและลูกเรืออีก 30,000 คน
โดยการนำท่านดยุคแห่งปาร์มา และ สิโดเนียดยุคแห่งเมดินา
เป็นผู้บังคับบัญชากองเรือในขณะนั้น
เอกสารประวัติศาสตร์บางชิ้นระบุว่าทัพเรือสเปนมีเรือรบขนานใหญ่ประสิทธิภาพสูง
บรรทุกลูกเรือ 20,000 คน แล่นออกจากสเปนแล้วขึ้นไปรับทหารอีก 17,000 คน
ของดยุคแห่งปาร์มาที่เนเธอร์แลนด์
โดยมีสิโดเนียดยุคแห่งเมดินาเป็นแม่ทัพใหญ่ของกองเรืออาร์มาดาทั้งหมด
วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1588
กองเรืออาร์มาดาแล่นออกจากท่าลิสบอน ซึ่งในวันที่ 31 กรกฎาคม
ทัพเรือทั้งสองปะทะกันเป็นครั้งแรก
โดยกองทัพเรืออังกฤษไล่ตีสเปนไปไปตามช่องแคบและสามารถยึดเรือสเปนได้สองลำ
ชัยชนะครั้งแรกเป็นของอังกฤษ ต่อมาในวันที่ 7 สิงหาคม ทัพเรืออังกฤษ และ
กองเรืออาร์มาดาได้ต่อสู้กัน
แต่เรืออังกฤษทำการบรรทุกเชื้อเพลิงไว้แล้วเรียงกันเป็นแถวหน้ากระดานจากนั้นจุดเพลิงเผาให้วอดแล้วพุ่งชนกองเรือของสเปน
ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นและกองเรือของสเปนเกิดความหวาดกลัว
ทำให้กองเรือของสเปนต่างถ่อยร้นทำให้กองเรือสเปนแตกพ่าย
และนั้นคือจุดจบของกองเรืออาร์มาดาของสเปน
INPUT
1. ผู้สอน ครู อาจารย์
2. ผู้เรียนหรือนักเรียน
3. สถานศึกษา โรงเรียน และมหาวิทยาลัย
4. การตั้งวัตถุประสงค์การสอน
5. แผนการสอน
6. สื่อการสอน
7. หนังสื่อเรียนหรือตำราเรียน
8. กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบฝึกหัด
ROCESS
1. แจกแผนการสอนและเอกสารการสอนให้กับผู้เรียนทุกคน
2. อธิบายรายวิชาและบอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียนได้เข้าใจ
3. ทำข้อตกลงระหว่างเรียนกับผู้เรียน
4. วัดผลประเมินผลผู้เรียนก่อนเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์อเมริกา ตอน สงครามอาร์มาดา
5. การสอน การบรรยายในชั้นเรียน
6. ให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนอกเนื้อจากเอกสารที่นำมาเเจกให้นักเรียนเเละการเรียนการสอนในชั้นเรียน
7. ทำกิจกรรมระหว่างเรียนและมอบหมายงานให้กับผู้เรียน
8. การสอบผลการเรียนของผู้เรียน
9. การปรเะมินผลการเรียนของผู้เรียน
OUTPUT
1. ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมาและประวัติศาสตร์อเมริกา ตอนสงครามอาร์มาดา
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ของสงครามอาร์มาดา
3. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
4. ผู้เรียนสามารถสอบวัดผลประเมินผลได้
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2